Our Media

บทความที่สร้างสรรจากประสบการณ์ โดยทีมวิทยากรและคณะที่ปรึกษาของเรา

ปั้นคนเก่ง #EP27 ปัญหาว่าด้วยการประชุม

การประชุมมีปัญหาด้วยเหรอ เอาจริงๆ เยอะเลยที่มีปัญหา เพราะว่า การประชุมเป็นการเอาคนมารวมกันเพื่อช่วยกันคิด พิจารณา และรับผิดชอบงานร่วมกัน บางครั้งหลายองค์กรอาศัยการประชุมเยอะมาก จนกลายเป็นคำพูดว่า #เขาจ้างมาประชุม

การประชุมถ้ามากเกินไปก็ใช้ว่าจะได้ผลดี เพราะการประชุมทำให้กินเวลาในการทำงาน เนื่องจากทุกคนที่เข้าประชุมต้องเอาสมาธิและเวลามาใส่ในการประชุมทั้งหมด การประชุมจะเกิดผลดีต่อการคิด แต่จะเกิดผลเสียต่อการสร้างผลงานและผลิต ยิ่งเป็นคนที่ต้องปฏิบัติแล้ว ยิ่งมีผลเสียมาก ดังนั้น ก่อนที่เราจะมาจัดการปัญหาในการประชุมเรามารู้จักการประชุมก่อนว่ามีกี่ประเภท

#การประชุมเพื่อการแจ้งให้ทราบ กระประชุมประเภทนี้มักจะใช้กับการประชุมประจำปี การแถลงผลงาน การแถลงนโยบาย ส่วนใหญ่จะเป็นการสื่อสารทางเดียว บางครั้งเราเรียกว่า Town Hall ซึ่งอาจจะเปิดโอกาสให้มีคำถามได้บ้างในบางครั้ง หรือ อาจจะมีการลงมติเพื่อทำประชาพิจารณ์ หรือ มิตผู้ถือหุ้นได้ในการประชุม แต่ว่าก็ยังคงเป็นเรื่องการสื่อสารทางเดียวเป็นหลัก

#การประชุมเพื่อขอมติจากคณะกรรมการ เป็นการประชุมเพื่อให้คนที่ลงมติต้องร่วมกันรับผิดชอบในการติดสินใจผ่านมติ อย่างเช่นการประชุมรัฐมนตรี การประชุมกรรมการพิจารณางบประมาณ หรืออะไรก็ตามที่ต้องการการรับผิดชอบจากการมีผลกระทบให้คุณให้โทษกับคนอื่นได้

#ประชุมเพื่อรายงานการทำงาน การประชุมแบบนี้เหมือนกับการการแจ้งให้ทราบและรับคำสั่งใหม่ไปทำงานซึ่งจะเจอกับทีมทำงานอยู่บ่อยๆ บางครั้งเรียกว่าประชุมติดตามความคืบหน้า ซึ่งทางภาคธุรกิจมักใช้การประชุมแบบนี้ในการติดตาม KPI หรือผลประกอบการ

#กระประชุมระดมสมอง เป็นการประชุมที่ไม่มีวาระชัดเจน แต่เน้นการเปิดโอกาสให้ทุกคนมาร่วมกันคิดและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การประชุมแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีมติแต่จำเป็นต้องมีการกำหนดงานที่ต้องทำต่อหลังการประชุม

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการประชุมจะมีอยู่ด้วยกัน 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ

ใช้การประชุมผิดประเภท เช่น ใช้การประชุมกรรมการเป็น การประชุมแจ้งเพื่อทราบ ทำให้ประธานที่ประชุมพูดอยู่คนเดียว คนอื่นๆ นั่งเงียบกันหมด หรือ แอบเล่นโทรศัพท์ระหว่างการประชุม นั่นแสดงว่า แต่ละคนเริ่มไม่ใส่ใจการประชุมแล้ว ทำให้ประสิทธิภาพในการประชุมลดลง

ปัญหาการใช้การประชุมผิดประเภทจะมีอีกเรื่องคือ การไม่เตรียมพร้อมในการประชุมให้ถูกต้อง เช่น การเตรียมข้อมูลให้เพียงพอเพื่อพิจารณา หรือ การไม่แจ้งวาระหรือพูดคุยกันก่อนที่จะเอาเข้าประชุมเพื่อพิจราณาจนกลายเป็นการประชุมระดมสมองในการประชุมลงมติ ซึ่งจะทำให้เกิดโอกาสในการเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเกิดจากการเงียบในห้องประชุม หรือการโต้เถียงที่มีเวลาอย่างจำกัดในห้องประชุม ยิ่งในวัฒนธรรมแบบไทยไทยแล้ว ยิ่งเงียบไปกันใหญ่ พูดมากเดี๋ยวเค้าจะผิดแล้วเขาว่าจะเราโง่ คิดไปโน้น

ปัญหาที่ 2 คือ การเอาคนที่ไม่ควรจะเกี่ยวกับการประชุมเข้าที่ประชุม

การไม่เกี่ยวข้องคือ ไม่กี่ยวในความรับผิดชอบ และไม่เกี่ยวกับความสามารถ คนที่ไม่เกี่ยวในความรับผิดชอบดูได้ง่ายๆ คือ เข้ามาแล้วนั่งเฉยๆ และลงชื่อว่าเข้าร่วมประชุม โดยที่ยังไม่รู้เลยว่า ผลการประชุมนี้เอาไปใช้ประโยชน์อะไร ซึ่งในทางแก้ไขคือ สามารถทำหนังสือแจ้งผลการประชุมไปยังบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเอาเข้ามานั่งในห้องประชุมให้เสียเวลา และเกิดความน่าเบื่อหน่ายในที่สุด

การไม่เกี่ยวข้องในความสามารถคือ คนคนนี้อาจจะเกี่ยวในหน้าที่รับผิดชอบ แต่ไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย มีอะไรก็ทำไม่ได้ แบบนี้แสดงว่าความสามารถไม่เข้ากับที่ประชุม ดังนั้น การที่เอาคนนี้เข้าประชุมด้วยจะทำให้เสียเวลา ควรให้เขาไปทำงานในสิ่งที่เขาสามารถทำได้ดีกว่า

วิธีการแก้ปัญหาการประชุม

1. กำหนดรูปแบบการประชุมให้ชัดเจน เพื่อระบุว่า การประชุมในครั้งนี้ต้องการอะไร ไม่เอารูปแบบการประชุมมาปนกันในครั้งเดียว หากต้องการมีหลายประเด็นที่ต้องการ ให้แยกแยะการประชุมเป็นเรื่องๆ แล้วค่อยประชุมทีละเรื่อง

2. ถ้ามีการประชุมเกิน 7 คน ให้ดูว่า มีใครบ้างที่ไม่มีส่วนร่วมในการประชุมเลย ถ้ามีแสดงว่า การประชุมนั้นกำลังไม่มีประสิทธิภาพแล้ว

3. มีวาระการประชุมที่ชัดเจน หากจะนอกเรื่อง ให้นอกเรื่องหลังที่ประชุม

4. บางเรื่องไม่จำเป็นต้องประชุมก็ได้ ใช้วิธีการสื่อสารทางอื่นแทน เช่น การโทรศัพท์ การทำหนังสือแจ้ง การส่งข้อความ เป็นต้น แทนการประชุม เพราะการประชุมมีต้นทุนสูงมาก มาจากเงินเดือนของผู้เข้าประชุมทั้งหมดซึ่งอาจจะแพงมากตามตำแหน่ง ยิ่งแพงยิ่งต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้น

ถ้าเราจัดการการประชุมให้มีประสิทธิภาพได้ การประชุมจะไม่น่าเบื่อและไม่เยอะจนเกินความจำเป็น จนกลายเป็นคำพูดว่า เค้าจ้างมาประชุม และที่สำคัญ คนที่เข้าประชุมบ่อยๆ โดยเฉพาะเป็นประธานการประชุมทำอย่าง อาจจะบอกได้อีกอย่างนึงว่า เขากำลังพยายามตัดสินใจทุกอย่างด้วยตัวเอง โดยไม่กระจายการทำงาน หรือ ไม่ได้ให้การทำงานเป็นไปแบบมีส่วนร่วมเลย

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง #EP26 ปัญหาว่าด้วยการบริหารคนเก่ง

องค์กรทุกองค์กรต้องการคนเก่ง เพราะคนเหล่านี้จะสามารถสร้างผลประกอบการที่ดีให้กับองค์กรได้ คนเก่งยังสามารถลดภาระของผู้บริหารได้เป็นอย่างมาก ทำให้ผู้บริหารเบาแรง หรือเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการสร้างผลงาน

แต่การมีคนเก่งในองค์กรใช่ว่าจะไม่มีปัญหา เพราะคนเก่งบางคน เน้นว่าบางคน มีลักษณะพิเศษ เช่น ความคิดล้ำหน้ามากกว่าคนอื่นมากคนอื่นทำงานด้วยไม่ได้ ต้องการพื้นที่ในการแสดงความสามารถของตัวเองหากได้พื้นที่น้อยเกินไปก็จะไม่มีความสุข มีแนวทาการทำงานเป็นของตัวเองไม่ค่อยจะยอมโอนอ่อนง่ายๆ เนื่องจากไม่เชื่อว่าระบบปกติจะทำให้งานสำเร็จ

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือการที่องค์กรไม่สามารถควบคุมคนเก่งเหล่านี้ให้เป็นไปตามที่องค์กรต้องการได้สิ่งที่ตามมาจะเกิดได้หลายลักษณะ

  1. สูญเสียคนเก่งไปโดยที่องค์กรหาคนมาแทนไม่ได้
  2. ทำให้ระบบการบริหารคนมีปัญหาเพราะคนเห่งที่จากไปย่อมส่งผลกระทบทางความคิดและจิตใจของคนในองค์กร
  3. เกิดการทำลายคนเก่ง ในกรณีที่คนเก่งคนนั้นไม่ได้ไปไหน แต่กลับไม่ได้แสดงออก นานวันเข้าความเก่งก็จะหายไปเพราะไม่ได้ใช้งานความเก่ง
  4. องค์กรไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเนื่องจากไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความเก่งได้

#วิธีการบริการคนเก่ง

ในการบริหารคนเก่ง หลายคนมักจะบอกว่าให้คนเก่งได้แสดงฝีมือให้เต็มที่และมีแนวทางการสร้างความเติบโตในการทำงานของคนเก่งเหล่านี้ เรียกว่าต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ มันก็จริง แต่ยังไม่หมด หากจะสรุปว่าเราจะบริหารคนเก่งยังไงได้บ้าง ก็คงสามารถสรุปออกมาเป็นข้อได้ดังนี้

  1. มีพื้นที่หรือมีเวทีให้คนเก่งเหล่านี้ได้แสดงพลังความเก่งของตัวเองออกมา ซึ่งผู้บิหารต้องเชื่อก่อนว่า พวกเขาเก่ง และรู้ว่าเก่งอะไร
  2. มีวิธีการดูแลคนเก่งแบบที่ไม่เหมือนคนอื่น เพราะคนเก่งมักจะได้รับความไว้วางใจมากกว่าคนอื่น ซึ่งจะตามมาด้วยความอิจฉาของคนในองค์กร ดังนั้น การดูแลคนเก่งจะต้องมีวิธีการป้องกัน หรือมาตรการที่ใช้แตกต่างจากคนอื่น เช่นการประเมินผลงาน คนเหล่านี้ จะมีวิธีการประเมินผลงานแตกต่างจากคนอื่น และสามารถพิสูจน์ได้ว่า ผลงานกับผลตอบแทนนั้นคุ้มค่ากันจริงๆ
  3. อย่าใช้คนเก่งในทุกเรื่อง เนื่องจากคนเราเวลาทำงานก็จะทำงานได้ทีละเรื่อง บางคนอาจจะได้มากกว่านั้น แต่ก็ไม่สามารถทำทุกเรื่องในเวลาเดียวกันได้จนกลายเป็นว่า คนเก่งใช้งานง่ายก็ใช้จัง สุดท้าย งานไม่เสร็จสักอย่าง และจะเป็นการทำลายคนเก่งคนนั้นไปเนื่องจากต้องเจองานหลายหน้าในเวลาเดียวกัน
  4. ทำให้คนเก่งรู้ว่าตัวเองเก่งอะไรและไม่เก่งอะไร อันนี้สำคัญมาก เนื่องจากคนเราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง นั้นเราจะต้องรู้ว่า เราจะใช้คนเก่งเรื่องไหน และห้ามใช้เรื่องไหน ในขณะเดียวกัน การที่เรารู้ว่าคนเก่งคนนี้ไม่เก่งอะไรแล้ว ผู้บริหารจะต้องเสริมสร้างอะไรให้คนเก่ง สิ่งนี้จะช่วยยึดโยงคนเก่งเอาไว้กับองค์กรได้ เนื่องจาก คนเก่งจะรู้ว่า สิ่งที่เขามีคือทีม ทีมที่จะช่วยให้เขาสามารถแสดงออกความสามารถได้อย่างเต็มที่ ไม่ใช้ผู้บริารปล่อยคนเก่งไปผจญภัยคนเดียวสุดท้ายก็ตายไปในความยากลำบาก
  5. ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเก่งกว่าคนเก่งแต่ต้องมองอนาคตและภาพรวมเก่งกว่าคนเก่ง แต่ต้องมองสถาการณ์อนาคตที่รอบคอบกว่าคนเก่ง จะทำให้คนเก่งยอมรับในตัวผู้บริหารและยอมใช้ความเก่งในการทำงานให้ เพราะถ้าคนเก่งรู้สึกว่าตัวเองเก่งกว่าผู้บริหารแล้ว เค้าจะรู้ว่าอยู่องค์กรนี้ไปทำไม ออกไปทำเองดีกว่า เรียกว่า ไม่ต้องพึงพาองค์กรแล้ว
  6. ให้คนเก่งได้พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา อาจจะเป็นลักษณะงานที่ท้าทาย หรือ เป็นงานที่ต้องการการเรียนรู้ใหม่ๆ ทำให้คนเก่งได้เพิ่มความเก่งของตัวเอง เค้าจะรู้สึกว่ามาคุณค่าในองค์กรมากยิ่งขึ้น

ทั้งหมดที่กล่าวมาก็เป็นเรื่องของการบริหารคนเก่ง องค์กรใดที่มีคนเก่งอยู่กับตัวจงดีใจและใช้ให้เกิดแระโยชน์อย่างถูกวิธี และที่สำคัญผู้บริหารเอง ก็ต้องไม่หยุดพัฒนาความเก่งของตัวเอง เพื่อให้สามารถบริหารความเก่งของคนรอบข้างได้

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง #EP25 ปัญหาว่าด้วยการสร้างแบรนด์

หลายธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กขนาดใหญ่ ต่างพยายามสร้างแบรนด์ทั้งนั้น ด้วยเหตุผลหลักอยู่ 2 เหตุผลคือ ต้องการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น และมีความมั่นคงทางรายได้ เพราะเชื่อว่า ถ้ามีแบรนด์แล้ว จะทำให้เกิดการจดจำ เกิดการรับรู้ และเป็นที่น่าไว้วางใจ

ถามว่าถูกหรือไม่ ตอบเลยว่าถูกต้องที่สุด แต่ปัญหาอยู่ที่ #เจ้าของธุรกิจกลับไม่เข้าใจว่าแบรด์คืออะไร

ก่อนอื่นเลย ต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของแบรนด์ และสิ่งที่คล้ายแบรนด์ก่อน

ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจและเกี่ยวข้องกับแบรนด์ คือ ตราสัญญลักษณ์ โลโก้ ชื่อสินค้าและธุรกิจ เรามาเริ่มทำความเข้าใจกันก่อนเลย

#แบรนด์ หมายถึง บุคลิกของธุรกิจหรือสินค้าที่ผู้บริโภคและสังคมได้รับรู้ว่าเป็นอย่างไร เป็นความควาดหวังที่ผู้บริโภคมีต่อสินค้าหรือบริษัท จะเห็นได้ว่า แบรนด์ไม่ได้เกิดจากการที่ธุรกิจบอกผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคให้ความรับรู้ต่อธุรกิจต่างหาก แล้วการโฆษณาหละ ทำไมช่วยสร้างแบรนด์ได้ ก็เพราะการโฆษณาเป็นการบอกให้เชื่อถ้ามีคนเชื่อก็มีคนรับรู้ แต่ก็มีคนไม่เชื่อตามโฆษณาเหมือนกัน

#ตราสัญญลักษณ์ หมายถึง รูปภาพ หรือ สัญลักษณ์บางอย่างที่กำหนดเพื่อให้สื่อถึงแบรนด์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Symbol

#โลโก้ หมายถึง ชื่อที่เป็นอักษร ที่อาจจะมีการออกแบบให้มีความสวยงาม หลายครั้งใช้ โลโก้เป็นตราสัญญลักษณ์ หรือ มีตราสัญลักษณ์คู่กับโลโก้

#ชื่อ เป็นเสียงเรียกที่เราใช้เรียกตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ว่าเราต้องการให้ออกเสียงและสะกดว่าอย่างไร

ที่ผ่านมามีความสับสนกันอยู่พอสมควรว่าการใช้โลโก้ การใช้สัญญลักษณ์ หรือการใช้ชื่อ ให้คนจดจำได้สิ่งนั้นเรียกว่าแบรนด์ ไม่ใช่เลย จริงๆ

แล้วแบรนด์สร้างอย่างไรหละ

แบรนด์จะสร้างได้มีอยู่วิธีการเดียวคือ การสร้างประสบการณ์ที่คงเส้นคงวา มีระยะเวลายาวนานพอที่คนจะเชื่อได้ว่า สิ่งเหล่านี้มีบุคลิกลักษณะอย่างไร เมื่อใช้สินค้าและบริการแล้วจะเกิดความรู้สึกอย่างไร บริการหลักการขายและได้รับอะไรไปบ้าง รวมๆ เข้าด้วยกันแล้วจะกลายเป็นแบรนด์

การถ่ายทอดแบรนด์เริ่มจากจุดไหนดี

แบรนด์สามารถถ่ายทอดได้ 2จุดใหญ่ๆ คือ จากตัวสินค้าและบริการเอง หรือ จากผู้บริหารหรือเจ้าของแบรนด์

จากตัวสินค้า หมายถึง สินค้ามีรคุณสมบัติอย่างไร พนักงานแสดงออกต่อลูกค้าอย่างไร นโยบายการทำการตลาดและการดูแลลูกค้าหลังการขายเป็นอย่างไร ลูกค้าได้รับประสบการณ์อะไรบ้างที่เกิดจากตัวของธุรกิจ รวมถึงการสื่อสารทางการตลาดของธุรกิจไปยังลูกค้า

จากตัวเจ้าของธุรกิจเอง หมายถึง ตัวเจ้าของทำให้ตัวเองออกสื่อ แล้วมีคนติดตาม และเข้าไปกำกับดูแลการดำเนินการในธุรกิจอย่างใกล้ชิดจขนผู้คนรับรู้ถึงบุคลิกของเจ้าของและไปเชื่อมโยงกับสินค้าและบริการที่จะได้รับ

การสร้างแบรนด์จากตัวสินค้าและบริการทำได้ช้ากว่าแต่ยืนยาวมากกว่า เพราะว่า เมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของหรือผู้บริหาร สินค้าและบริการยังคงมีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะถ่ายทอดอะไรออกไปยังผู้บริโภค และผู้คนไม่ค่อยจะเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของกับธุรกิจมากนัก ยกเว้นพวกที่เป็นนักวิเคราะห์ที่จะเห็นถึงความเชื่อมโยง แต่ก็ไม่ปัจจุบันทันด่วน เช่น สตาร์บักส์ กูเกิ้ล

การสร้างแบรนด์จากเจ้าของ แบบนี้จะสร้างเร็ว เจ้าของออกสื่อเอง แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ ภาพของแบรนด์จะเปลี่ยนแปลงทั้งที ทำให้ความยั่งยืนจะมีน้อยกว่า นอกเสียจากว่า เจ้าของได้มีการถ่ายทอดการรับรู้ไปที่ตัวสินค้าและบริการ โดยการออกสื่อให้น้อยลงและให้ลูกค้าโฟกัสที่สินค้าให้มากขึ้น เช่น แอปเปิ้ล อิชิตัน และเทสล่า

เมื่อเราสร้างแบรนด์แล้วจะสร้างกำไรได้จริงหรือ ต้องมาว่ากันต่อในตอนหน้า

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง #EP24-การสร้างแนวทางการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน

จากตอนที่แล้ว EP23 เมื่อปัญหายิ่งซ้อบซ้อน ยิ่งต้องปรับให้เรียบ มาว่ากันต่อหลังจากที่ทำปัญหาที่ซับซ้อนเป็นปัญหาเชิงเดี่ยวแล้ว แต่ก็มีคำถามตามมาว่า เมื่อปัญหาเชิงซับซ้อนที่ถูกทำให้เรียบแล้ว สามารถแยกออกมาได้หลายปัญหา แล้วจะเริ่มแก้ไขปัญหาไหนก่อน แล้วจะสร้างแนวทางกรแก้ไขปัญหาได้อย่างไร

วันนี้มาขอยกตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเพื่อให้เข้าการการสร้างแนวทางจากการปรับให้เรียบ

เอาสถานการณ์ปุ๋ยแพงในตอนนี้อันเนื่องจากปุ๋ยโลกขาดแคลน

ในการปรับให้เรียบคือการแยกแนะว่าปัญหาปุ๋ยแพงยังมีอะไรอีก กระทบอะไรบ้าง

สิ่งมี่ผมเห็นในตอนนี้คือ ราคาปุ๋ยแพงจะทำให้อาหารโลกขาดแคลน เพราะพืชโตช้า ผลผลิตน้อยลง และมีการผลิตน้อยลงด้วยจากการที่ไม่มีเงินทุนในการผลิต

แต่ในขณะเดียวกันมีอีกปัญหาทับซ้อนขึ้นมาคือราคาข้าวถูก เนื่องจากโครงสร้างตลาดในประเทศไทย กับประเทศอื่นส่งออกได้ดีกว่าไทยจึงมากดราคาข้าวเกษตรกร

ปัญหาที่ตามมาคือ ตอนนี้กำลังเตรียมเข้าหน้าเพาะปลูกอีกครั้ง แต่เกษตรกรต้องเจอกับปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และเงินที่เป็นทุนในการผลิตหายไป

เทคนิคปรับให้เรียบคือ จริงๆ แล้วปัญหามี 3 เรื่อง คือ 1 ต้นทุนแพง 2 ราคาขายต่ำ 3 เงินสดหายไป

ปัญหาต้นทุนแพงมาจากปุ๋ยและน้ำมันเชื้อเพลิงที่พุ่งขึ้นแบบติดจรวด

ดังนั้นความคุ้มค่าในการผลิตมี 2 แนวทางคือลดต้นทุนหรือเพิ่มราคาขายของเกษตรกร

ปัญหาราคาขายต่ำ เพราะความต้องการมีน้อยกว่าผลผลิตที่มี ณ เวลานี้ และลักษณะของโครงสร้างตลาดตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำสู่นายทุนปลายน้ำที่ยังมีช่องอยู่กว้างมาก สังเกตุเรากินข้าวสารแพงมาก ทั้งที่ข้าวเปลือกราคาถูก ช่างไม่สอดคล้องกันเลย

*ดังนั้นถ้ามีใครเอาข้างออกจากระบบไปรักษา ดูแล และจัดระเบียบใหม่ คล้ายๆ แก้หวยแพง ก็จะจัดการปัญหานี้ได้

แนวทางการสร้างการแก้ปัญหาคือ ทำให้เกษตรกรมีเงินสดในมือ ตอนนี้เพื่อให้มีกำลังผลิต แล้วราคาผลิตจะแพงขึ้นในอนาคตจากการที่ทั่วโลกมีปริมาณผลิตผลที่หายไป

*ดังนั้นถ้าทำให้เกษตรกรทีเงินในช่วงเริ่มเพาะปลูกได้ ก็จะแก้ปัญหาหนี้สิน การกู้ยืมและประสิทธิภาพการผลิตได้

เรียกว่าทำยังไงหละ มองดีๆ เราพบว่า

ยังมีอีกปัญหานึงคือ เวลาของผลผลิตที่ออกสู่ตลสดไม่ถูกจังหวะที่แพง

*ดังนั้นแนวทางคือ ถ้าเราทำให้ผลผลิตออกมาในข่วงเวลาที่แพงได้ก็จะแก้ปัญหาราคาตกได้

เอาดังนั้น 3 อันมาผสมกัน ออกมาคืออะไร

มันคือการที่รัฐต้องให้สักหน่วยงานไปเอาข้าวออกจากระบบแล้วอัดฉีดเงินที่จะเป็นราคาข้าวในอนาคต (อาจจะหักมูลค่าคิดลดก็ได้) แล้วได้อะไร

1 เกษตรมีเงินในมือมากขึ้นจากการที่เอาราคาข้าวในอนาคตมาใช้ก่อน

2. หน่วยงาน หรือรัฐบาล มีโอกาสสร้างกำไรได้จากที่ซื้อข้าวตอนนี้ แล้วไปขายตอนแพง

3. ใช้ข้าวเป็นเครื่องมือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะอีกไม่นานแต่ละประเทศต้องวิ่งหาข้าวเนื่องจากผลผลิตโลกขาด และเงินเฟ้อแรงมากกกกก

แบบนั้ก็เรียกว่า #จำนำข้าว สิ ก็อย่าเรียกแบบนั้นสิ ให้เรียก #ข้าวประชารัฐ ก็ได้ ประชา (ชน ขายให้) รัฐ แล้วรัฐเอาไปหาประโยชน์ให้ประชา(ชน)

 

ดร. นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง #EP23 เมื่อปัญหายิ่งซ้อบซ้อน ยิ่งต้องปรับให้เรียบ

การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเป็นประเด็นได้รับความสนใจมากในยุค VUCA เพราะยุคนี้อะไรก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีปริมาณข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจมีมากยิ่งขึ้น อีกประเด็นหนึ่ง เมื่อมีการกระจายอำนาจในการตัดสินใจ ปัญหาก็จะยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

อ้าวแบบนี้ก็เลิกกระจายอำนาจเลยดีมั้ย ตอบเลยด้วยเสียงดังว่า ไม่ดี เพราะการกระจายอำนาจ ช่วยให้งานเดินได้เร็วมากยิ่งขึ้น และทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัญหาเชิงซับซ้อนจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร เพื่ออำนวยการให้ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น เรียบ สะดวก ไม่ใช่การยึดอำนาจมาตัดสินใจไว้เพียงคนเดียว สิ่งนี้เป็นของคู่กัน

และการแก้ปัญหาเชิงซับซ้อน เริ่มอย่างไรหละ คำตอบง่ายๆ  แต่หลายคนบอกว่าทำยาก คือ การทำความเข้าใจ ยากเพราะเราไม่รู้ว่าต้องทำความเข้าใจเรื่องอะไรกันแน่ และเทคนิคการทำความเข้าใจต้องทำอย่างไร

การทำความเข้าใจที่ต้องเริ่มต้นในการจัดการปัญหาเชิงซับซ้อนคือ การทำความเข้าใจว่า เจ้าปัญหาเชิงซับซ้อน มีกี่ปัญหาที่ซ้อนกันอยู่ในนั้น เราแยกแยะปัญหาแต่ละปัญหาออกจากกันได้อย่างไร นั่นคือจุดหัวใจของการแก้ปัญหาเชิงซับซ้อน

การทำความเข้าใจถึงประเด็นของปัญหา ต้องอาศัยทักษะการแยกแยะ กล่าวคือ ความสามารถระบุได้ว่า อะไรเป็นเรื่องเดียวกัน และอะไรเป็นเรื่องที่ต่างๆ กัน ระดับการแยกแยะนั้น ให้พิจารณาในระดับที่เล็กที่สุด ประเด็นเล็กๆ ที่เกิดขึ้น เพราะสิ่งนยี้จะช่วยให้เข้าใจประเด็นมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ต้องสามารถระบุให้ได้ว่า อะไรเป็ฯคนละเรื่องกัน ยกตัวอย่างเช่น

พนักงานเอารถบริษัทออกไปใช้งานกิจกรรมของบริษัท และเอาออกนอกเส้นทางไปใช้เรื่องส่วนตัว แล้วเกิดอุบัติเหตุรถชน ต้นไม้ ขาขาด บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา เหตุการณ์นี้มีกี่ประเด็นที่เกิดขึ้น

ประเด็นที่ 1 เรื่องการที่พนักงานเอารถบริษัทไปใช้ในส่วนตัว ทางบริษัทมีนโยบายอนุญาติ หรือ ไม่อนุญาติชัดเจนหรือไม่ ทางบริษัทต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ก่อน ถ้าไม่อนุญาติเลย ถือว่าเป็นการละเมิด ถ้า ไม่อนุญาติ หรือใครๆ ก็ทำกันเป็นเรื่องปกติ เรียกว่า เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ

ประเด็นที่ 2 บริษัทมีนโยบายไว้หรือไม่ว่า ถ้าเอารถไปใช้ในเรื่องส่วนตัวแล้ว การเกิดอุบัติเหตุการต้องรับผิดชอบ หรือไม่

ประเด็นที่ 3 ในการเกิดอุบัติเหตุนี้ อยู่ในการคุ้มครองของบริษัทประกันหรือไม่ เพราะโดยทั่วไป รถของบริษัมจะมีการทำประกันคุ้มครองไว้อยู่แล้ว แต่มีเงื่อนไขเอาไว้ว่าการคุ้มครองจะเป็นอย่างไร

ประเด็นที่ 4 การเกิดอุบัติเหตุ ต้องชดเชยความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และบุคคลภายนอกอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ

ประเด็นที่ 5 การบาดเจ็บ และเสียชีวิต มีค่าใช้จ่าย และการเยียวยา เป็นส่วนของใครที่ต้องเข้าไปช่วยดูแล

ประเด็นที่ 6 บริษัทจะแสดงความมีมนุษย์ธรรมและใช้โอกาสนี้ในการสร้างนโยบายหรือมาตรฐานใหม่อย่างไรในการควรคุมต่อไป พร้อมทั้งจะดูแลขวัญและกำลังใจของพนักงานคนอื่นอย่างไร

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีประเด็นต่างๆ ถึง 6 ประเด็น เรียกว่ามีปัญหาที่มีความซับซ้อนมาก ดังนั้น การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ต้องปรับให้ปัญหาต่างๆ เรียบ เป็นปัญหาเชิงเดี่ยวเสียก่อนที่จะเริ่มต้นแก้ปัญหา

การเริ่มต้นแก้ปัญหาจะเริ่มต้นจากปัญหาที่เร่งด่วนและมีความคุ้มค่าหรือผลลัพธ์ที่มากที่สุดก่อน จากนั้นจึงแก้ปัญหาอื่นๆ ต่อไปอีกครั้งหนึ่ง

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง #EP21 ปัญหาอดทนตั้งนานยังไม่ได้ผล

สิ่งที่เรามักจะพบกันบ่อยๆ ว่า ตอนนี้ชีวิตกำลังมีปัญหา ธุรกิจกำลังมีปัญหา เราต้องอดทนเพื่อก้าวข้ามปัญหา ซึ่งมันก็เป็นวิธีการที่ถูกต้องวิธีการหนึ่งในการแก้ปัญหา แต่ก็ไม่ใช่วิธีการที่ถูกที่สุด

การใช้การอดทนในการแก้ปัญหา จะได้ผลก็ต่อเมื่อเราอดทนจนเวลาผ่านไปแล้วปล่อยให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปจนต้นเหตุของปัญหาหายไปกับสภาพแวดล้อมด้วยแบบนี้ทำให้การอดทนในการแก้ปัญหาจะใช้ได้ผล

แต่ทุกปัญหาไม่สามารถทำแบบนี้ได้ด้วย 2 เหตุผลคือ 1) สาเหตุของปัญหาไม่ได้อยู่ที่สภาพแวดล้อม แต่อยู่ที่ตัวของบุคคลหรือตัวของธุรกิจเอง และ 2) ความสามารถในการอดทนมีไม่ยาวพอที่จะรอให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยน เราเป็นจะต้องพ่ายแพ้ไปเสียก่อน แบบนี้การอดทนจึงไม่ใช่ทางออกในการแก้ปัญหา

อ้าวแล้วทำไมใครๆ  ก็ใช้การอดทนหละ ก็เพราะว่า การอดทนคือการไม่เปลี่ยนแปลงอะไร ใช้วิธีการเดิม ส่วนใหญ่แล้ว มนุษย์เราทุกคนเมื่อเจอปัญหาจะเริ่มต้นด้วยการอดทนก่อน จนกว่าจะเริ่มทนไม่ไหวแล้วถึงจะเริ่มหาวิธีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ต่างกันแต่ว่า ใครจะทนนานกว่ากัน หรือ ทนได้นานกว่ากัน

ดังนั้น การใช้วิธีการแก้ปัญหาการอดทน จึงไม่สามารถใช้ได้กับกรณีดังต่อไปนี้

  • สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงและจะไม่เปลี่ยนกลับมาอีก
  • ต้นเหตุของปัญหาอยู่ที่ตัวบุคคล
  • ความสามารถในการทนทานต่อปัญหามีน้อย เช่น เงินไม่พอ
  • ยิ่งทนปัญหายิ่งมาก สถานการณ์ยิ่งแย่

นี่คือสาเหตุที่การใช้การอดทนแก้ปัญหาไม่ได้ แล้วเราต้องทำยังไงหละ

  1. ทำโดยการสังเกตุดูว่า ถ้าอดทนแล้วสถานการณ์แย่ลง แปลว่า การอดทนไม่ใช่คำตอบที่ดี
  2. ค้นหาว่าสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงแล้วอยู่ที่ไหน
  3. สร้างความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหานั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็นอีกเรื่องหรือเปลี่ยนแปลงไปเลยจะสิ่งเดิมที่ทำอยู่
  4. ไม่หนีกับปัญหา เพราะหนีไป ปัญหาก็ตามทันอยู่ดี เนื่องจากปัญหาเป็นเรื่องของเรา ดังนั้น เราไปอยู่ที่ไหน ปัญหาก็ตามไปถึงที่นั่น
  5. ลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลง

เมื่อเราฝึกทำแบบนี้บ่อยๆ เราเองจะเป็นคนที่ไวต่อปัญหาและรู้ว่า ปัญหานี้ควรจะอดทนต่อ หรือปัญหานี้ต้องรีบจัดการ เพราะหากเราจัดการเร็วเกินไปในทุกเรื่อง เราจะกลายเป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย หากเราจัดการช้าเกินไป ทุกย่างจะสายเกินแก้

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง #EP20 คนเก่งมักจะมีความจำดี

ความจำ กับความเก่ง ความคิด และผลงาน เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

บ่อยครั้งที่เราเป็นคนขี้ลืม ทำให้เราต้องทำงานอะไรผิดพลาดอยู่บ่อยๆ หรือ เราทำงานได้ไม่ครบถ้วน หรือเราเองไม่สามารถจำขั้นตอนการทำงานที่สมบูรณ์แบบได้ ทำให้ผลงานที่ออกมานั้นไม่ได้ดังคาดหวัง

อย่างในกรณีของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สมองของเรานั้นก็ไม่ได้คิดใหม่ในทุกเรื่อง แต่หลายครั้งเราเองกลับเอาความทรงจำเก่าๆ มาดัดแปลงเพื่อสร้างแนวทางในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

หรืออย่างในกรณีของการสร้างกลยุทธ์ขององค์กร ก็ต้องอาศัยการข้อมูลเป็นจำนวนมาก ทั้งข้อมูลที่เป็นสถานการณ์ปัจจุบัน และข้อมูลเชิงเวลา การที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการสมองของเราได้ ก็ต้องใช้ความจำอีกเช่นกัน

คนที่มีความจำดี เหมือนกับมีวัตถุดิบทางความคิดมากกว่าคนอื่นๆ ดังนั้น การที่มีวัตถุดิบทางความคิดจำนวนมาก ก็ย่อมมีโอกาสจำนวนมาก ในการสร้างความคิด การตัดสินใจที่มีความแม่นยำ มีความหลากหลาย และมีสร้างสรรค์ทางความคิดได้มาก

ทั้งหมดนี้เป็นพื้นฐานมาจากความจำ จึงทำให้คนที่มีความจำดี มักจะมีผลงานการทำงาน และความคิดดีกว่าคนที่มีความจำน้อยกว่า

ประเภทของความจำสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ความจำในเรื่องราวจากภายนอก ความจำในความคิดของตัวเอง และความจำในกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว

การสร้างความจำในด้านการจดจำเรื่องราวจากภายนอก สามารถเพิ่มความจำด้วยการใช้จินตนาการ สร้างเรื่องราวต่างๆ เอาไว้ในจินตนาการซ้ำอีกครั้งเมื่อได้เจอเรื่องราว เพราะเมื่อสมองสร้างจินตนาการเอาไว้แล้ว สมองจำทำการบันทึการเรื่องราวนั้นเอาไว้ ทำให้สามารถสร้างความจำได้ดีมากยิ่งขึ้น

เมื่อเรื่องราวจากภายนอก แปลงข้อมูลเป็นจินตนาการแล้วนั้น จะกลายเป็นความจำจากความคิด ซึ่งเทคนิคการสร้างความจำจากความคิดนั้นคือ การใส่รายละเอียดในจินตนาการ สมองจะทำงานมากขึ้น ทำให้สามารถสร้างการจดจำได้มากยิ่งขึ้น

แต่สำหรับการจดจำของกลา้มเนื้อนั้น จะมีความแตกต่างกันไป คือต้องอาศัยการทำท่าทาง หรือ กิจกรรมนั้นซ้ำๆ จนกว่าการเคลื่อนที่จะออกมาแบบอัตโนมัติ ทั้งมุมของข้อต่อ ความเร็ว น้ำหนัก ท่าทาง อาจจะสามารถรวมจินตนาการลงไปในการเคลื่อนไหวด้วยก็ได้ จะยิ่งช่วยให้คนเราสามารถจดจำการเคลื่อนที่ได้ดีมากยิ่งขึ้น

แต่สิ่งเหนืออื่นใด ในการสร้างความจำคือการสร้างสมาธิ จดจ่อกับสิ่งที่ต้องการจำ หากเราไม่มีสมาธิจดจ่อต่อสิ่งที่ต้องการจำ ความจำของเราก็จะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย และทำให้ลืมเร็วอีกด้วย

คนที่ต้องการเก่ง คนที่ต้องเป็นหัวหน้าคน การฝึกความจำและการฝึกสมาธิจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อการทำงานเป็นอย่างมาก ค่อยๆ ฝึกกันไป และทุกอย่างจะเก่งขึ้น

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง EP19 #เรียนรู้ที่จะหยุดและไปอย่างเป็นจังหวะที่สวยงาม

ผู้คนมากมายมีความพยายามที่จะพุ่งไปข้างหน้า ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไปให้เต็มกำลัง เพื่อต้องการให้ได้ผลลัพธ์ที่เร็วที่สุด นับว่าเป้นเรื่องที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ดีนั้น ก็มีเรื่องอันตรายอยู่ด้วยคือ

การเดินทางที่ไม่รู้ว่าได้เดินทางอย่างถูกต้อง ถูกทิศ ถูกทางหรือไม่ ทำให้เราหลงทาง หรือทำให้เราเกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้ เพราะเราไปผิดทาง

ชีวิตเราเหมือนกับการเดินเรือกลางมหาสมุทร ที่ไม่มีถนน ไม่มีสิ่งบอกทิศทางอะไรเลย เราต้องอาศัยทิศเปรียบเทียบกับเส้นทางการเดินทางที่ผ่านมา ทำให้เรารู้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน และนักเดินเรือจะต้องทำการวัดทิศตลอดเวลา และพยายามหาสิ่งสังเกตุเพื่อให้กำหนดจุดที่ตัวเองอยู่ได้

คนเราก็เหมือนกัน เราต้องตรวจสอบการเดินทางของชีวิต วัดทิศทาง และมองเส้นทางในอดีตที่ผ่านมาของตัวเองเสมอเพื่อให้เราสามารถรู้ว่า ตอนนี้ ชีวิตเราเดินทางไปทางไหน

แต่ว่า การตรวจสอบชีวิตเรามันไม่ง่ายและเห็นชัดเหมือนการเดินเรื่อง เพราะเราไม่มีเข็มทิศ ไม่มีกล้องส่องทางไกลที่จะส่องชีวิตได้แบบจริงๆ มีแต่ความคิดและความจำเท่านั้นที่ทำให้เราสามารถเห็นชีวิตของเราเองได้

วิธีการตรวจสอบทิศทางชีวิตได้คือ “การหยุด” หยุดเพื่อคิด หยุดเพื่อทบทวน หยุดเพื่อพิจารณาว่า ที่ผ่านมานั้น ทำอะไร ได้อะไร เกิดอะไรขึ้นกับตัวเองและคนรอบข้าง ถ้าเราพบว่า มีการผิดพลาด เราก็แก้ไขด้วยการ ยอมรับว่าผิดพลาด

การหยุด จะทำให้เราเห็นความจริงที่เกิดขึ้น แทนการหลอกตัวเองด้วยความเชื่อและความคิด

การหยุดทำให้สมองของเราได้พักและจัดระบบความคิด

การหยุดทำให้เราได้ฟังเสียงตัวเอง

การหยุดทำให้เราตัดสินใจได้อย่างเฉียบคมมากขึ้น

วันที่ปัญหารุมเร้า หยุด สักครู่ ทำใจให้เป็นกลาง พิจารณา และตัดสินใจให้แม่นยำ แล้วไปต่อเป็นจังหวะของชีวิต

คนเก่งเค้าทำกันแบบนี้

#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง EP18 #อ้อเหรอสูตรลับคนเก่ง

อ้อเหรอ เป็นคำอุทานที่ฟังดูง่ายๆ แต่ช่างทรงพลังยิ่งนัก เพราะว่าเป็นเทคนิคการเบรกความคิด ก่อนที่เราจะตัดสินหรือตีความหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราได้รับมา

คนเก่งจะไม่รีบตัดสินด้วยอารมณ์ แต่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น และเรียนรู้มัน เรียบเรียงมัน ก่อนที่จะตัดสินใจว่าต้องทำอะไรต่อไป

เนื่องจากว่าของคนเรานั้นทำงานเร็วมากหลายๆ ครั้งเราไม่สามารถจะติดตามความคิดของเราได้ทันท่วงที เราจึงจำเป็นต้องมีอะไรบางอย่างมาคั่นความคิดเราก่อนที่เราจะตัดสินใจออกไป

อ้อเหรอมันเป็นเช่นนี้เอง

นี่คือช่วงเวลานาทีทองที่จะทำให้สมองหยุดคิดพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น และได้ใช้ประสิทธิภาพของสมองอย่างเต็มที่ มิฉะนั้นแล้วสมองจะทำตามสัญชาตญาณและความเคยชินของเรา

นอกจากนั้น อ้อเหรอ

ยังช่วยทำให้เราใจเย็นขึ้นมองโลกเป็นจริงมากขึ้น และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้มากยิ่งขึ้นด้วย

หลักการในการแก้ปัญหาในการตัดสินใจเรื่องราวต่างๆนั้นเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ

เมื่อเราเข้าใจเขาก็จะรู้ว่าเราจะต้องใช้ใจทำอะไรต่อไป แต่ถ้าเราไม่เข้าใจเราก็จะไม่รู้ว่าใจของเรานั้นต้องการอะไรกันแน่

นี่แหละครับคนเก่ง เรียนรู้ว่า อ้อหรอมันเป็นเช่นนี้เอง

 

#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง EP17 #รู้จัก อดีต ปัจจุบัน อนาคต

อดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นเรื่องของเวลาแต่ก็มีผลต่อจิตใจของเราด้วยเช่นเดียวกัน

หากเราทำความเข้าใจกับทั้ง อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ได้อย่างถ่องแท้ก็จะทำให้สามารถเข้าใจถึงวิธีการวางตัวและการวางแผนชีวิตได้เป็นอย่างดี สิ่งที่เองมีผลลัพธ์ต่อการพัฒนาของมนุษย์อย่างมาก

อดีต คือเรื่องราวที่ผ่านมาแล้วเราไม่สามารถไปแก้ไขอดีตได้เพราะมนุษย์และสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ไม่เคยเดินทางย้อนเวลากลับไปและจัดการใหม่อีกครั้งหนึ่งได้ แต่เราสามารถจะนำอดีตนั้นมาทำการเรียนรู้หาสาเหตุ และผลลัพธ์จากสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อถอดเป็นบทเรียนให้เราในการใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน

มีคนกล่าวว่า ในโลกนี้ไม่เคยมีอะไรใหม่ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นมาแล้ว นั่นก็จริงแต่ที่ไม่จริงท่าทีเดียวคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาแล้วจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเวลาและองค์ประกอบรวมไปถึงเรื่องราวที่เอามาต่อเชื่อมเข้าด้วยกันทำให้ผลลัพธ์หลายๆครั้งมีความแตกต่างไปจากเดิมมากแต่เราก็สามารถเรียนรู้ได้จากอดีตนั่นเอง

ปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่สั้นมากสั้นกว่า 1 วินาทีสั้นกว่าเสี้ยววินาทีมันคือจุดเวลาอยู่ตรงนี้ตรงที่เราใช้ชีวิตอยู่มันคือสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้เพียงอย่างเดียวในชีวิตโดยแท้จริงเพราะเราเลือกที่จะตัดสินใจเราเลือกที่จะกระทำและเราเลือกที่จะยอมรับผลลัพธ์ของการกระทำนั้นๆเมื่อเราทำเป็นแล้วปัจจุบันก็จะกลายสภาพเป็นอดีตทันที ดังนั้นถ้าหนูต้องการปัจจุบันที่ดีที่สุดเราต้องมีสติที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับปัจจุบัน เราเองก็เชื่อว่าถ้าเราทำปัจจุบันตรงนี้ให้ดีที่สุดในทุกๆปัจจุบันผลลัพธ์ระยะยาวในอนาคตย่อมดีขึ้นแน่ๆ

อนาคต คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึงคือสิ่งที่ไม่มีใครรู้แต่มีแต่คนอยากได้ มีแต่คนต้องการเข้าไปควบคุมอนาคตซึ่งเราเองไม่เคยใฝ่คว้าอนาคตเอาไว้ได้เลยเนื่องจากอนาคตยังไม่เคยมาถึง แต่อย่างไรก็แล้วแต่เรามีข่าวดีก็คือผลลัพธ์ของปัจจุบันจะเกิดขึ้นในอนาคต

หากเราเรียนรู้อดีตเพื่อนำมาสร้างเป็นตัวเลือกในปัจจุบันที่ดี นั่นย่อมหมายความว่าเราเองก็กำลังสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่ดีเช่นเดียวกัน

หากแต่ถ้าเราไปยึดติดอยู่กับอดีตเราเองจะลืมเลือกปัจจุบันให้ดีที่สุดแล้วอนาคตเราจะเหลืออะไร

หากเราเลือกแต่จะไปไขว่คว้าอนาคตได้ลืมฐานปัจจุบันแล้วอนาคตจะได้ผลลัพธ์อย่างที่เราต้องการได้อย่างไรเล่า

ดังนั้น คนเก่ง คือคนที่รู้จักการใช้ประโยชน์จากอดีต มาสร้างปัจจุบันให้ดี เพื่อให้ได้โอกาสในการได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการในอนาคตให้มากที่สุด แต่ไม่ยึดติดว่าอนาคตจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่เพราะเมื่ออนาคตเดินทางมาถึงปัจจุบันและมันไม่เป็นไปตามที่ต้องการ คนเก่งก็จะเลือกปัจจุบันที่จะเกิดขึ้นเป็นการปรับตัวเป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อให้อนาคตนั้นเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์เป็นไปตามที่ต้องการต่อไป

 

#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง EP16 #จงอยู่กับความสมบูรณ์แบบของปัจจุบัน

หากเราไปสังเกตคนที่เก่งส่วนใหญ่ในโลกนี้จะพบว่ามีอะไรบางอย่างที่คล้ายๆ กันคือความเข้มงวดกับผลที่ได้รับหรือการกระทำของเขาที่จะต้องพยายามทำให้เกิดความสมบูรณ์ถูกต้องให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ การที่ใครคนหนึ่งบอกว่าได้เท่านี้ก็โอเคแล้วนั่นหมายความว่าเขากำลังสะสมความผิดพลาดทีละเล็กทีละน้อยแล้ววันหนึ่งจะเป็นความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่

ลองคิดง่ายๆหากเราเอา 100% x 100% เราก็จะได้ 100%

 แต่ถ้ารอเอา  90 % x 90 % ผลลัพธ์เหลือเพียง 81 % เท่านั้น

แล้วถ้าเราทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆล่ะจะเกิดอะไรขึ้น

ผลลัพธ์ในปลายทางก็จะลดลงอย่างรวดเร็วเพราะว่าเราได้อนุญาตให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า คนเก่งจึงใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่คนทั่วไปไม่ได้ใส่ใจ ด้วยการคิดมากกว่า ละเอียดมากกว่า รอบคอบมากกว่า ครอบคลุมมากกว่า ต้องจุดเล็กๆน้อยๆนี่เองทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ที่แตกต่างจากคนทั่วไปอย่างมหาศาล หากเราอยากพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น ลองหัดเก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่อยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นการเดินการยืนการนั่งหรือการกิน สิ่งเหล่านี้มีความแตกต่างกันมากมายระหว่างจุดเล็กๆ และเราลองพัฒนาสิ่งเล็กๆน้อยๆจะเลื่อนการสังเกตเป็นการคิดให้มากขึ้นเป็นการทำให้สมบูรณ์ขึ้นทีละเล็กทีละน้อยไปเรื่อยๆ เราจะพบว่าผลลัพธ์ปลายทางเมื่อเวลาผ่านไปอาจจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

เหมือนเราเลี้ยวเพียง 1 องศาแต่ถ้าระยะทางผ่านไป 10-15 กิโลเมตร  ความห่างระหว่างจุดสองจุดที่จุดเริ่มต้นมีเพียง 1 องศานั้นก็จะแตกต่างกันมากมายเช่นเดียวกัน อย่าหยวนกับเรื่องของการสร้างผลลัพธ์ แม้ว่าแต่ละครั้งจะต้องทำใหม่ทำแล้วทำอีก เราก็สามารถเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆที่ทำให้ผลลัพธ์มันแตกต่างกันได้อย่างน่าเหลือเชื่อ จริงๆแล้วความแตกต่างเล็กน้อยตรงนี้หลายคนเขาเรียกว่าเคล็ดลับ นั่นคือปัจจัยแห่งความสำเร็จที่คนทั่วไปไม่รู้ และเช่นเดียวกันนั่นคือปัจจัยความสำเร็จของคนเก่ง

 

#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

#เพจปั้นคนเก่ง

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ปั้นคนเก่ง EP15 #คนแก่งมีแต่คำว่าเดี๋ยวนี้

เป็นการบอกว่าต้องเริ่มลงมือทำไม่ใช่เอาแต่ผลัดไปเรื่อยๆ

การที่ได้ลงมือทำก็เปรียบเสมือนเป็นการฝึกเพิ่มพูนทักษะให้ตัวเองได้มีความชำนาญเพิ่มขึ้น

คนที่ผลัดเอาไว้ก่อน เดี๋ยวก่อน อีกสักหน่อยมันก็จะไม่เกิดผลลัพธ์อะไรขึ้นเลย

แล้วเมื่อไหร่ล่ะจะได้ฝึกฝีมือจะได้ฝึกทักษะให้ตัวเองเก่งขึ้นเก่งขึ้นและเก่งขึ้น

คนเก่งจริงๆ จะเรียนรู้วิธีการเอาชนะใจตัวเองและลงมือทำเดี๋ยวนี้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทันที

สิ่งที่เกิดขึ้นนั่นหมายความว่าเขาจะเรียนรู้การชนะใจและเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยเพราะคนเก่งคือคนที่สามารถสร้างผลงานได้เร็วกว่าได้ดีกว่าและได้มากกว่าคนอื่น

การพัฒนาทักษะของเราเองไม่มีคำว่าเดี๋ยวก่อนมีแต่คำว่าเดี๋ยวนี้

ใครที่เดี๋ยวนี้ได้มากกว่ากันนั่นหมายความว่าจะมีผลงานได้มากกว่าคนอื่นเช่นเดียวกัน

เพราะสูตรลับของความสำเร็จและความเก่งของคนไม่เคยมีมีแต่อยู่อย่างเดียวคือทำและทำให้มากกว่าคนอื่น

ใครที่อยากเก่ง ต้องฝึกการกลั้นใจและลงมือทำในทันทีเดี๋ยวนี้ไม่มีคำว่าข้ออ้าง

แต่หลายๆคนก็กลับไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคหรือกับดักตรงจุดนี้ได้เพราะมีเหตุผลมากมายในการอธิบายสิ่งที่ตัวเองยังไม่ต้องการจะทำในทางปฏิบัติแม้ว่าในจิตใจอยากจะทำมากเท่าไหร่ก็ตาม

เหตุผลเหล่านั้นเรียกว่าข้ออ้าง

เราจึงต้องจัดการเอาคำว่าข้ออ้างออกจากชีวิตแล้วเปลี่ยนเป็นคำว่าข้อคิดข้อ สังเกต ข้อระมัดระวัง

นี่แหละวิถีของคนเก่ง

 

#เก่งคิด #เก่งงาน #เก่งคน

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

Our Podcasts and VDOs เรื่องราวดี ที่เราอยากเล่าให้ท่านฟัง